กฎการสะท้อนของแสง
ใบกิจกรรมที่ 2.1 เรื่อง สังเกตและคิดก่อนเรียนรู้
1.
มองตนเองในกระจกเงาราบ
จากนั้นเลื่อนกระจกออกจากตัว และอธิบายลักษณะภาพและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
ตอบ ......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
2. จากชุดการสอนที่ 1 เรื่อง นัยน์ตาและการมองเห็น ได้อธิบายว่า
“การที่เรามองเห็นวัตถุต่างๆ ได้
เพราะมีแสงเดินทางจากวัตถุเข้าสู่ตา ซึ่งแสงนั้นอาจจะเกิดจาก
วัตถุเองหรืออาจเกิดจากการสะท้อนหรือการหักเหของแสง”
เขียนสิ่งที่รู้เกี่ยวกับ
“การสะท้อนแสง” มาให้มากที่สุดภายในเวลา 1 นาที
ตอบ
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ใบกิจกรรมที่ 2.2 เรื่อง กฎสะท้อนของแสง
1.ให้นักเรียนศึกษาสัญลักษณ์ของการสะท้อนแสงก่อนการทำกิจกรรม
การกำหนดสัญลักษณ์ของการสะท้อนแสง
วัตถุที่ไม่มีแสงในตัวเองสามารถสะท้อนแสงที่ได้รับจากแหล่งกำเนิดแสงมาเข้าตาเราได้ ในการศึกษาเรื่อง การสะท้อนของแสง
เราจะกำหนดสัญลักษณ์ดังต่อไปนี้
ภาพที่ 2.1 แสดงสัญลักษณ์ของการสะท้อนแสง
ที่มาภาพ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2. กรุงเทพฯ: สกสค ลาดพร้าว, 2553.
หน้า 98.
เมื่อ i คือ รังสีตกกระทบ
r คือ รังสีสะท้อน
N คือ เส้นแนวฉาก
เป็นเส้นอ้างอิงที่ตั้งฉากกับผิวสะท้อน ณ ตำแหน่งที่แสงตกกระทบ
คือ มุมตกกระทบ (เป็นมุมระหว่างรังสีตกกระทบกับเส้นแนวฉาก)
คือ มุมสะท้อน
(เป็นมุมระหว่างรังสีสะท้อนกับเส้นแนวฉาก)
คำถามสำคัญ มุมตกกระทบมีความสัมพันธ์กับมุมสะท้อนหรือไม่ อย่างไร
2.ทำกิจกรรมเรื่อง การสะท้อนของแสงและบันทึกผลลงในแบบบันทึกกิจกรรม
จุดประสงค์การทำกิจกรรม
1. เพื่อทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ของระหว่างมุมตกกระทบและมุมสะท้อนของแสง
เวลาที่ใช้ 30 นาที
วัสดุอุปกรณ์
1. หลอดไฟพร้อมกล่องแสง
1 อัน
2. แบตเตอรี่ 1
อัน
3. แผ่นช่องแสงชนิดช่องเดียว
1 แผ่น
4. กระดาษ A4 1
แผ่น
5. ไม้โปรเจกเตอร์ 1 อัน
6. กระจกเงาราบ 1 อัน
7. ดินน้ำมัน 1 ก้อน
8. ดินสอสี 3
แท่ง
วิธีการทำกิจกรรม
1. ลากเส้นบนกระดาษขาว
ตามแนวกระจกเงาราบให้ทำมุม 30 , 45 , 60 องศา และเส้นแนวฉาก
โดยใช้สีแดง น้ำเงิน เขียว
และดำ ตามลำดับ ต่อแบตเตอรี่กับหลอดไฟและกล่องแสง ให้แสงผ่านช่องแสงไปตกกระทบทำมุมฉากกับกระจกเงาราบ
ดังภาพที่ 2.2
ภาพที่ 2.2 แสดงการจัดวางอุปกรณ์ในการทดลองเรื่อง
กฎการสะท้อนของแสง
2.
ลากเส้นตามแนวรังสีสะท้อน โดยใช้สีที่เหมือนกันกับรังสีตกกระทบ (พร้อมใส่หัวลูกศร)
3. วัดและเขียนมุมของรังสีสะท้อนที่ได้จากการทดลอง
4. ทดลองเช่นเดียวกับข้อ
2 3 และ 4 แต่เปลี่ยนเป็นมุม 30 , 45 และ
60 ตามลำดับ
5. นำผลการทดลองติดลงในแบบบันทึกกิจกรรม
แบบบันทึกกิจกรรมที่ 2.2 เรื่อง กฎสะท้อนของแสง
สมมติฐาน
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ตัวแปรต้น ..................................................................................................................................
ตัวแปรตาม ..............................................................................................................................
ตัวแปรที่ควบคุม .....................................................................................................................
ออกแบบตารางบันทึกผลการทำกิจกรรม
ตอบคำถามหลังทำกิจกรรม
1. เมื่อขนาดของมุมตกกระทบเปลี่ยนไป ขนาดของมุมสะท้อนเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
2. มุมตกกระทบมีความสัมพันธ์กับมุมสะท้อนอย่างไร
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
อภิปรายและสรุปผลการทำกิจกรรม
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
เฉลยใบกิจกรรมที่ 2.2 เรื่อง กฎสะท้อนของแสง
(ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนและ
แบบประเมินการเขียนรายงานการทำกิจกรรม)
แนวคำตอบ
แบบบันทึกกิจกรรม เรื่อง กฎการสะท้อนของแสง
สมมติฐาน (นักเรียนอาจตอบตามข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้)
1. เมื่อขนาดมุมตกกระทบมากขึ้นจะทำให้ขนาดของมุมสะท้อนมากขึ้นด้วย
2. เมื่อมุมตกกระทบเปลี่ยนแปลงจะทำให้มุมสะท้อนเปลี่ยนแปลงด้วย
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ตัวแปรต้น มุมตกกระทบ
ตัวแปรตาม มุมสะท้อน
ตัวแปรที่ควบคุม อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองทุกชิ้น, สถานที่,
ผู้สังเกตและทดลอง
ออกแบบตารางบันทึกผลการทำกิจกรรม
ขนาดของมุมตกกระทบ (องศา)
|
ขนาดของมุมสะท้อน(องศา)
|
0 (ตามเส้นแนวฉาก)
|
90
|
30
|
30
|
45
|
45
|
60
|
60
|
ภาพผลการทดลอง
ขนาดของมุมตก
กระทบ (องศา)
|
|
0 (ตามเส้นแนวฉาก)
|

|
30
|
|
45
|

|
60
|
|
ตอบคำถามหลังทำกิจกรรม
1. เมื่อขนาดของมุมตกกระทบเปลี่ยนไป ขนาดของมุมสะท้อนเปลี่ยนแปลงหรือไม่
อย่างไร
คำตอบ เปลี่ยนแปลง
เมื่อขนาดมุมตกกระทบมากขึ้น
ขนาดของมุมสะท้อนก็จะมากขึ้นด้วย
2. มุมตกกระทบมีความสัมพันธ์กับมุมสะท้อนอย่างไร
คำตอบ มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อนเสมอ
อภิปรายและสรุปผลการทำกิจกรรม
ผลการทดลองสอดคล้อง(หรือไม่สอดคล้อง)กับสมมติฐานที่ตั้งไว้
กล่าวคือ เมื่อเพิ่มขนาดของมุมตกกระทบจาก 0 องศา เป็น 30 45 และ 60 จะพบว่าขนาดของมุมสะท้อนจะเพิ่มขึ้นเท่ากับ
30 45 และ 60 ตามลำดับ จึงสรุปได้ว่า
มุมตกกระทบมีค่าเท่ากับมุมสะท้อนเสมอ
****************************************